������������������������������������������ ������������������ 2023

by WheelSharee Posted on 2022-09-09



ความคิดเห็นที่ 1
สรุป ที่มาที่ไป แบบเข้าใจง่าย “เหมืองทองคำอัครา” คดีสะเทือนรัฐบาล
Workpoint News
 
เรื่องราว “เหมืองทองคำ” ที่สั่นสะเทือนรัฐบาลไทย อยู่ ณ เวลานี้ มีเรื่องราวเป็นอย่างไรกันแน่
 
ทำไมรัฐบาลอาจต้องควักเงินสูงกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพื่อจ่ายให้บริษัทเอกชนจากต่างประเทศ และ ทำไมนายกฯประยุทธ์ ต้องออกหน้าด้วยตัวเอง Workpoint News จะสรุปสาระสำคัญแบบเข้าใจง่ายใน 19 ข้อ

1) ในปี พ.ศ.2543 รัฐบาลในยุคชวน หลีกภัย มีการเปิดให้สัมปทานการขุดเหมือง ชื่อ “ชาตรี” ทำบริเวณรอยต่อของ จ.พิจิตร, จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์ เป็นจำนวน 5 แปลง มีพื้นที่รวม 1,259 ไร่ โดยบริษัท คิงส์เกท คอนโซลิเดเต็ด จำกัด จากประเทศออสเตรเลีย เป็นผู้ชนะ ได้สิทธิสัมปทาน พร้อมมอบหมายให้บริษัทลูกในประเทศไทย บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เป็นผู้ดำเนินกิจการการขุดเหมือง
 
2) ตั้งแต่เหมืองทองคำ ถูกก่อตั้ง ได้สร้างความเจริญขึ้นในพื้นที่ และมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย ในเขตรอบๆเหมือง รวมถึงมีผู้ประกอบการ ร้านค้า และธุรกิจเอกชน ผุดขึ้นมา เพื่อรองรับความเจริญที่เข้ามา

3) สำหรับประเทศไทย ได้ประโยชน์เช่นกัน จากการมอบสัมปทานครั้งนี้ โดย รัฐบาลจะได้ประโยชน์ถึง 3 ทาง
– เมื่อขุดแร่ทองคำขึ้นมาแล้ว จะสามารถส่งออกไปขายต่อให้ประเทศอื่น เพื่อนำไปทำเป็นทองคำบริสุทธิ์ต่อไป
– เก็บ “ค่าภาคหลวง” เปรียบเสมือนภาษี ที่ผู้ทำสัมปทานต้องจ่ายให้รัฐทุกปี จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
– เป็นการสร้างมูลค่า และความเจริญในพื้นที่ รวมถึงสร้างงานให้คนในละแวกใกล้เคียงกับเหมืองทองด้วย

4) หลังขุดทองกันได้ 7 ปี ในปีพ.ศ.2550 มีกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบออกมาร้องเรียนต่อรัฐบาล ว่าใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เพราะมีเสียงดังจากการระเบิดเหมืองกันตลอดเวลา ทั้งวัน ทั้งคืน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เหมืองแร่เปิดอยู่ใกล้ชุมชน ส่งผลให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ถูกทำลาย และปนเปื้อนไปด้วยโลหะหนัก
ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำจากธรรมชาติได้อีก ต้องซื้อน้ำกินน้ำใช้ รวมถึงเริ่มมีอาการเจ็บป่วย มีผื่นคัน ตุ่มหนองทางผิวหนัง

5) ระหว่างที่ภาครัฐลงมาตรวจสอบ ทาง บมจ.อัครา ได้ขอสัมปทานเพิ่มเติมอีก 9 แปลง ในจังหวัดพิจิตร รวมพื้นที่ 2,466 ไร่ และได้รับสัมปทานจากรัฐ วันที่ 21 กรกฎาคม 2551 – 20 กรกฎาคม 2571 สัมปทานยาว 20 ปี โดยเรียกกันว่า “เหมืองทองคำชาตรีเหนือ”

6) ยิ่งมีการทำเหมือง ก็ยิ่งมีชาวบ้านจำนวนมาก ได้รับผลกระทบทางร่างกาย ดร.สมิทธ ตุงคะสมิทธ จากมหาวิทยาลัยรังสิต รายงานผลการตรวจเลือดของชาวบ้าน 1,004 คน ที่อาศัยในเขตใกล้เหมือง ในวันที่ 24 สิงหาคม 2557 ปรากฏว่าพบสารแมงกานีสในร่างกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน 41.83% และ สารไซยาไนต์ในร่างกายเกินมาตรฐาน 5.88%

7) จนในที่สุด วันที่ 16 มกราคม 2558 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ (กพร.) ได้ทำการสุ่มตรวจ และพบว่ามีชาวบ้านจำนวนหนึ่ง มีโลหะหนักในกระแสเลือด จึงออกคำสั่งให้บริษัท อัครา หยุดประกอบกิจการ เป็นเวลา 30 วัน

8.) อย่างไรก็ตาม หลังจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ทางอัคราไมนิ่ง พยายามปรับปรุงแก้ไข เรื่องการปล่อยโลหะหนักรั่วไหล โดย เดือนเมษายน กพร. จ้างบริษัทแบร์ โดแบร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้เชี่ยวชาญการประเมินเหมืองทองคำ มาตรวจสอบที่เหมืองชาตรี ปรากฎว่า ไม่พบไซยาไนต์รั่วไหลแต่อย่างใด

9) ความขัดแย้งในพื้นที่ เพิ่มดีกรีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มชาวบ้านมีทั้งฝ่ายสนับสนุนเหมืองทองคำ และฝ่ายที่ต่อต้านอยากให้เหมืองยุติ จนในที่สุด วันที่ 14 ธันวาคม 2559 ด้วยคำสั่งของ คสช. ที่ 72/2559 ประกาศว่า “ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำ จะต้องระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป”
“ส่วนคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ ต้องระงับการอนุญาตให้สำรวจ หรือทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงระงับการต่ออายุสัมปทานเหมืองแร่ทองคำ นอกจากนั้น ผู้ประกอบการ ต้องฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ตามที่กำหนดไว้ในรายการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม”
เป็นการใช้ มาตรา 44 ระงับข้อขัดแย้ง ซึ่งก็มีเสียงวิจารณ์ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย

10) เมื่อถูกระงับไม่ให้ทำเหมือง ส่งผลให้บริษัท อัครา ปลดพนักงานทั้งหมด 265 คน รวมถึงพนักงานของบริษัทที่เกี่ยวข้องอีก 450 คน ก็ถูกเลิกจ้าง และหยุดการทำงานของเครื่องจักรในการผลิตทั้งหมด ก่อนจะหยุดดำเนินกิจการอย่างเป็นทางการ วันที่ 1 มกราคม 2560

11) 19 พฤษภาคม 2559 กลุ่มพนักงาน และ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการปิดเหมือง จำนวน 5 พัน ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยกล่าวว่า ประชาชนจำนวนมาก ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ พร้อมแสดงผลการตรวจสุขภาพ ว่าไม่ได้ป่วยไข้จากเหมืองทองแต่อย่างใด พร้อมวิงวอนให้นายกฯ ให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้านตัวจริง
นายวรากร จำนงค์นารถ อดีตกำนันตำบลเขาเจ็ดลูก เปิดเผยว่า “พวกเราชาวบ้านตัวจริงอาศัยอยู่ร่วมกับเหมืองแร่ทองคำมากว่า 15 ปี อย่างเกื้อกูล ถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่ได้มีความขัดแย้งกัน เหมือนที่บางกลุ่มพยายามกล่าวอ้าง”
“พวกเราขอถามหน่อยว่าหากหมู่บ้านเราไม่มีเหมืองทองคำ ก็จะกลายเป็นหมู่บ้านที่ไร้ความเจริญ ลูกหลานจะไม่ได้รับส่งเสริมการศึกษา ชาวบ้านจะไม่มีอาชีพ ซึ่งคุณภาพชีวิตจะตกต่ำลงอย่างแน่นอน” นางกุลจิรา เพชร์ภักดิ์ ชาวบ้านที่มาร่วมประท้วงเผย

12) อย่างไรก็ตาม ทางฝั่งนักวิชาการ นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร แสดงทรรศนในทางตรงข้ามว่า “เหมืองพิจิตร เป็นการทำเหมืองที่สะท้อนให้เห็นว่า เราไม่มีความพร้อมที่จะทำเหมือง โดยรัฐบาลให้ต่างชาติเข้ามาทำนั้น เขาไม่ได้รับผิดชอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดูแลชุมชนรอบเหมืองให้ดี”
เช่นเดียวกับ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า “ถ้าการขุดแร่ทองคำนั้น ทำความเสียหายให้กับทรัพย์สินอื่นๆของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน แหล่งน้ำ และผู้คน โดยที่แลกกับผลประโยชน์ปัจจุบันเพียงน้อยนิด ผมว่าเราเก็บไว้ก่อนเถอะครับ มูลค่าสินแร่ทองคำมันไม่ลดลงหรอกครับ”
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีคำสั่ง จากม.44 แต่ สำหรับ บริษัท อัคราไมนิ่ง ที่ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น อัครา รีซอร์สเซส ถ้าอ้างอิงจากสัญญาสัมปทานเดิม พวกเขายังมีสัญญาในการขุดเหมืองทองคำอยู่ ( 4 แปลง ถึงปี 2563 อีก 8 แปลง ถึงปี 2571)

13) หลังจากเหมืองถูกปิด ทางบริษัทคิงส์เกท เจ้าของสัมปทานตัวจริงจากออสเตรเลีย ขอพูดคุยกับรัฐบาลไทย เพื่อยื่นข้อเสนอในปัญหาครั้งนี้ แต่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้

14) เรื่องยืดเยื้อไปจนถึง วันที่ 5 พฤศจิกายน 2560 บริษัท คิงส์เกท ตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ กับราชอาณาจักรไทย เพื่อเรียกร้องให้มีการชดเชยค่าเสียหายจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากมาตรการของรัฐบาลไทย เป็นจำนวนเงิน 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ (22,672 ล้านบาท) เนื่องจากการสั่งปิดเหมือง เป็นการละเมิดข้อตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA)

15) โอกาสชนะคดีของฝั่งคิงส์เกท คือพิสูจน์ให้เห็นว่า บริษัทตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด และโดนสั่งให้ยุติกิจการอย่างไม่เป็นธรรม โดยข้อตกลง TAFTA ระบุว่า เมื่อรัฐบาลสร้างผลกระทบใดๆต่อนักลงทุนของประเทศภาคี ต้องจ่ายค่าชดเชยด้วย
ขณะที่โอกาสชนะคดีของฝั่งไทย คือตามกรอบขององค์กรการค้าโลก (WTO) ระบุว่า รัฐบาล อาจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกับสมาชิกภาคีได้ ถ้าหากมีความจำเป็น เพื่อปกป้องชีวิต สุขอนามัยของมนุษย์ สัตว์ และ พืช
ดังนั้นแปลว่าจุดสำคัญของการแพ้ชนะในคดีนี้ คือการพิสูจน์ให้ได้ว่า การขุดเหมืองแร่ทองคำ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และร่างกายของประชาชนในพื้นที่จริงหรือไม่

16) มีนาคม 2562 มีข่าวลือออกมาว่า ไทยอาจจะยอมจ่ายเงิน เพื่อเป็นการยุติปัญหา อย่างไรก็ตาม ฝั่งรัฐบาลไทย นำโดยนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกมายุติข่าวลือว่า ในตอนนี้ รัฐบาลไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนการสู้คดีกับ บริษัท คิงส์เกท และยังไม่มีการตัดสินชี้ขาดแต่อย่างใด
“รัฐบาลมีความมั่นใจว่าการดำเนินการของรัฐบาลไทยเป็นการคุ้มครองประชาชนจากผลกระทบ เฉพาะหน้าด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมปนเปื้อนอย่างทันท่วงที เป็นไปตามมาตรฐานสากลสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ พร้อมสู้คดีต่อไป และยังไม่มีการพิจารณาการจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใด”

17) ประเด็นเรื่องการจ่ายเงินให้ บริษัทคิงส์เกท กลายเป็นประเด็นเรื่องการเมือง โดยวันที่ 5 มิถุนายน 2562 ในการประชุมรัฐสภา นายสุทิน คลังแสง ส.ส.จากพรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากใช้อำนาจ ม.44 ปิดเหมืองทองคำชาตรี
“เบื้องต้นเชื่อว่ารัฐบาลไทยจะแพ้คดี และเสียค่าชดใช้ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่คนไทยต้องร่วมกันชดใช้ เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ ฐานะผู้ใช้มาตรา 44 จะไม่มีส่วนรับผิด ดังนั้น กรณีของพล.อ. ประยุทธ์ ถือว่าเป็นคนที่ไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศ”

18) สำหรับล่าสุด 30 ตุลาคม 2562 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ณ ตอนนี้ รัฐบาลไทย มีทางเลือกอยู่ ว่าจะยอมจ่ายให้เรื่องจบ , ประนีประนอมแล้วให้กลับมาเปิดเหมืองต่อ หรือ สู้คดี ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่อยู่ในที่ประชุมครม.ด้วย กล่าวว่าขอตัดสินใจก่อน จะใช้แนวทางไหนดี แต่ยืนยันชัดเจนว่า “ผมรับผิดชอบเอง เพราะเป็นผู้ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ต้น”

19) บทสรุปของเรื่องนี้ ถ้าหากไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ ก็ต้องไปสู้คดีกัน ซึ่งยังไม่สามารถเดาได้ว่าผลจะออกมาในรูปแบบใด โดยกระบวนการสืบสวน จะเริ่มต้นวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ และจะได้บทสรุปชี้ขาดในอีก 3-5 เดือนข้างหน้า
จุดสำคัญของคดีนี้ คือฝั่งรัฐบาลไทย ก็ยังสามารถเป็นฝ่ายชนะคดีได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า การปิดเหมืองทองคำ นั้นเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนจริงๆ อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม หากฝั่งรัฐไม่มีหลักฐานแน่นหนามากพอ ที่จะยืนยันว่า บริษัท อัครา ทำลายสิ่งแวดล้อมจนเสียหาย ผู้ชนะก็จะตกเป็นของคิงส์เกทแทน
ความคิดเห็นที่ 2

กลุ่มตัวแทนประชาชนที่ใช้ชื่อว่า "เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่" พร้อมกับชาวบ้านที่อาศัยใกล้เหมืองทองอัครา ในพื้นที่รอยต่อ จ.พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ยื่นหนังสือต่อผู้นำฝ่ายค้านและพรรคร่วมฝ่ายค้าน เรียกร้องให้ตรวจสอบกรณีรัฐบาลอนุญาตให้ บ.คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ บ.อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการเหมืองทองอัคราสามารถกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นภายหลังจากที่ บ.คิงส์เกตฯ เปิดเผยว่ารัฐบาลไทยอนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่ 4 แปลง ปูทางสู่การเปิดเหมืองชาตรีอีกครั้ง โดยการอนุมัตินี้มีขึ้นไม่นานก่อนที่คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจะเลื่อนการอ่านคำชี้ขาด "คดีเหมืองทองอัครา" ที่บริษัทฟ้องราชอาณาจักรไทยออกไปโดยไม่มีกำหนด จากเดิมที่คาดว่าจะมีคำชี้ขาดในวันที่ 31 ม.ค.

คดีเหมืองทองอัครา เป็นคดีที่ บ.คิงส์เกตฯ ฟ้องร้องต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเรียกร้องให้รัฐบาลไทยชดเชยค่าเสียหายกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 30,000 ล้านบาท จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงนามในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 72/2559 สั่งปิดเหมืองทองอัครา ซึ่งบริษัทมองว่าเป็น "คำสั่งปิดเหมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลไทย" และเป็นคำสั่งที่ละเมิดข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย

นอกจากกลุ่มตัวแทนจากเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่แล้วยังมีตัวแทนชาวบ้าน อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก มาร่วมยื่นหนังสือดังกล่าวด้วยราว 20 คนโดยมี นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติรับเรื่องดังกล่าวพร้อมด้วยตัวแทนของพรรคฝ่ายค้านอื่น ๆ ด้วย

ตัวแทนเครือข่ายฯ ได้กล่าวถึงความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาลที่อนุญาตให้ บ.คิงส์เกตฯ เตรียมกลับมาเปิดเหมืองทองอัครา พร้อมกับเรียกร้องให้ฝ่ายค้านนำปัญหาดังกล่าวไปอภิปรายซักฟอกรัฐบาล รวมถึงหาข้อมูลข้อเท็จจริงในกระบวนการอนุญาโตตุลาการมาเปิดเผยสู่สาธารณะ

น.ส. จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ ตัวแทนเครือข่ายฯ ระบุว่าเครือข่ายฯ ได้ติดตามกรณีนี้มาโดยตลอดและเห็นว่าเหมืองทองอัคราสมควรจะถูกปิด เนื่องจากการประกอบการมีข้อบกพร่องหลายอย่าง เช่น

-ประชาชนไม่มีส่วนร่วมกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุญาตประกอบการเหมืองทอง

-บริษัทจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาชุมชนโดยรอบในระดับที่ต่ำมากคือเพียง 0.1% ของมูลค่าทองคำที่ได้

-เหมืองทองไม่มีแนวกันชน ทำให้หมู่บ้านที่อยู่ติดกับเหมืองกลายเป็นหมู่บ้านร้าง ชุมชนล่มสลาย,

-ไม่มีการฟื้นฟูพื้นที่ในระหว่างและหลังปิดเหมือง

"เป็นเรื่องน่าเสียใจที่รัฐบาลไทยไม่ได้นำข้อมูลนี้ไปใช้สู้คดีในขั้นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศอย่างเพียงพอ เสมือนว่ามีพฤติกรรมสมยอมให้ไทยต้องแพ้คดีฯ หรือแลกกับการไม่แพ้คดีโดยให้ บ.คิงส์เกตฯ กลับมาทำเหมืองแร่ทองคำอีกครั้งได้" เธอกล่าว

ความคิดเห็นที่ 3
คำถามต่อสิ่งที่รัฐบาลไทยให้ บ.คิงส์เกต

ผู้แทนเครือข่ายฯ อ้างถึงรายงานข่าวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า บ.อัคราฯ ได้รับประทานบัตร รวมทั้งผลประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจจะเกินไปกว่าข้อพิพาทในชั้นอนุญาโตตุลาการฯ เพื่อแลกกับรัฐบาลประยุทธ์ไม่ต้องถูกคณะอนุญาโตตุลาการฯ มีคำสั่งชี้ขาดให้แพ้คดี ซึ่งต้องเสียค่าปรับประมาณ 24,750 ล้านบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบัน

โดยเครือข่ายฯ ตั้งข้อสังเกต 7 ประการที่ทำให้พวกเขามองว่ารัฐบาลกำลังให้ผลประโยชน์แก่ บ.คิงส์เกตที่เกินไปกว่าข้อพิพาท

1. บริษัทจะได้รับอนุญาตให้กลับมาทำเหมืองใหม่บนพื้นที่เดิม หรือ "แหล่งชาตรี" ที่ยังเหลืออีก 1 แปลงจากทั้งหมด 5 แปลง พื้นที่ 1,259 ไร่ และใน "แหล่งชาตรีเหนือ" ที่ยังเหลืออีก 8 แปลง จากทั้งหมด 9 แปลง พื้นที่ 2,466 ไร่ รวมทั้งการขยายอายุประทานบัตรแหล่งชาตรีที่หมดอายุประทานบัตรไปเมื่อปี 2563 หรือต่ออายุประทานบัตรให้กับแหล่งชาตรีไปอีก 10-20 ปี ขยายอายุประทานบัตรแหล่งชาตรีเหนือที่หมดอายุประทานบัตรในปี 2571 ด้วย เนื่องจากเสียโอกาสที่ไม่ได้ทำเหมืองมาหลายปีจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559 ที่่สั่งการทำเหมืองทองทั้งหมดนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560

2. บริษัทจะได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในพื้นที่ใหม่นอกจากข้อที่ 1 ที่เป็นคำขอประทานบัตรที่ค้างมานานหลายปี ตามข้อมูลที่บ.คิงส์เกตฯ เคยแถลงต่อตลาดหลักทรัพย์ในประเทศออสเตรเลีย พบว่าเป็นพื้นที่ใหม่ดังกล่าวคือ "แหล่งสุวรรณ" ซึ่งอยู่ห่างจากแหล่งชาตรีขึ้นไปทางเหนือ 6-10 กิโลเมตร อยู่บนพื้นที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,500 ไร่ คาดว่าน่าจะอยู่ในเขต ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และ "แหล่งโชคดี" อยู่ห่างจาก "แหล่งชาตรี" ขึ้นไปทางเหนือ 20 กิโลเมตร บนพื้นที่ประมาณ 18,750 ไร่ คาดว่าจะอยู่ในเขตของ ต.บ้านมุง และ ต.วังยา อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นแหล่งทองคำที่ทับลงบนพื้นที่ทั้งในและนอกเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงและป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย

ที่มาของภาพ, เว็บไซต์ บมจ. อัคราฯ

3. จะได้รับการขยายเวลาหรือต่ออายุใบอนุญาตต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองทองตามประทานบัตรแหล่งชาตรีและแหล่งชาตรีเหนือ เช่น ใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อการเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนอกเขตเหมืองแร่ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการ "กระทำผิดให้เป็นถูก" ด้วย คือ อนุญาตให้โรงประกอบโลหกรรมขยายการถลุงแร่ทองคำเพิ่มอีกสามเท่าจาก 8,000 ตันต่อวัน เป็น 24,000 ตันต่อวัน ทั้งที่โรงงานแห่งนี้สร้างก่อนได้รับอนุญาตโรงงานและก่อนรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) จะผ่านความเห็นชอบ ซึ่งขณะนี้เป็นคดีความอยู่ในศาลปกครองสูงสุด โดยศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่ให้โรงประกอบโลหกรรมส่วนขยายดำเนินการ

4. บริษัทจะได้รับการลดหย่อนค่าภาคหลวงแร่ ผลประโยชน์พิเศษที่จะต้องมอบให้แก่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เมื่อได้ประทานบัตรและเมื่อได้ภาษีอื่น ๆ ของการประกอบกิจการอื่น ๆ และเหมืองทองโลหกรรม

5. นำ บ.อัคราฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยไม่ต้องทำตามขั้นตอนของกฎหมายเพิ่มเติม

6. บริษัทจะได้รับอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่ ซึ่งเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่มีข้อมูลว่า บ.คิงส์เกตฯ ได้รับอาชญาบัตรไปแล้ว 44 แปลง เนื้อที่ประมาณ 4 แสนไร่ ใน จ.เพชรบูรณ์ ตามมติคณะกรรมการแร่เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 ส่วนอีก 6 แสนแปลงอยู่เขตรอยต่อ 3 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก และพื้นที่อื่น ๆ ใน จ.ลพบุรี ชลบุรีและจันทบุรี

7. บ.คิงส์เกตฯ จะได้รับอนุญาตให้ขนสินแร่ทองคำและเงินคงค้างในระบบผลิตเดิมก่อนถูกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559 ระงับยับยั้งไว้เข้าสู่กระบวนการถลุงโลหะทองคำและเงินในโรงถลุงภายในประเทศได้ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2563

ก่อนหน้านี้ นายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้เคยอธิบายถึงกรณีเห็นชอบต่ออายุประทานบัตร บมจ.อัครา ฯ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า สำหรับการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษและการประกอบโลหกรรม รวมถึงการอนุญาตให้ต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ เป็นไปเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของไทยให้มีวัตถุดิบทองคำและเงินทดแทนการนำเข้า ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ และยกระดับรายได้ ตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนบริเวณใกล้เคียงให้สูงขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ประชาชนมีรายได้ลดลงจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทฯ ต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนด้วย
ความคิดเห็นที่ 4

ฝ่ายค้านรับปากตั้งกระทู้ถามรัฐบาล

ด้าน นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังการรับหนังสือจากเครือข่ายประชาชนฯ ว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านจะนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการของทางรัฐสภาตามความประสงค์ของกลุ่มผู้ร้องเรียน

"ในปีนี้พรรคร่วมฝ่ายค้านได้เขียนญัตติเป็นการอภิปรายทั่วไปตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 152 เพื่อนำเรื่องเหมืองทองอัครา เรื่องการอนุญาตอนุมัติการเปิดเหมืองใหม่ การให้สิทธิบัตรต่าง ๆ เข้าไปเป็นประเด็นสอบถามข้อเท็จจริงในสภา" นพ. ชลน่านกล่าว และจะนำข้อมูลดังกล่าวที่เครือข่ายตั้งข้อสังเกตมาตั้งเป็นกระทู้สดสอบถามผู้เกี่ยวข้องในสภาทันทีในวันพรุ่งนี้ (3 ก.พ.)

นอกจากนี้ผู้นำฝ่ายค้านกล่าวว่า จะลงพื้นที่ไปรับฟังความคิดเห็นและพบปะประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งผลักดันให้เรื่องนี้เข้าไปยังคณะกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเชิงลึกคู่ขนานไปด้วย

ความคิดเห็นที่ 5

เหมืองทองอัครา เป็นมหากาพย์สะเทือนรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ มายาวนานตั้งแต่เป็นรัฐบาล คสช. ต่อเนื่องจนเป็นรัฐบาลพรรคพลังประชารัฐ หลัง พล.อ. ประยุทธ์ ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ทำให้เหมืองทองอัคราไม่สามารถทำกิจการต่อได้ จากนั้นเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องกันระหว่างบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด จากประเทศออสเตรเลีย บริษัทแม่ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กับราชอาณาจักรไทย คดีไปสู่การพิจารณาในอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ จนที่สุดก่อนวันอ่านคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ต่ออนุญาตใบประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำจำนวน 4 แปลง เป็นระยะเวลา 10 ปี และต่อใบอนุญาตโรงงานโลหกรรมอีก 5 ปี ให้กับบริษัท อัคราฯ และที่สุดอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้เลื่อนการอ่านคำตัดสินออกไป หลังจากเคยเลื่อนมาก่อนหน้านี้แล้วหลายครั้ง

 

จากการต่ออนุญาตใบประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำให้กับบริษัท อัคราฯ จึงนำมาสู่การตั้งคำถามจากฝ่ายค้านโดยพรรคเพื่อไทยว่า นี่คือการนำทรัพย์สินของชาติมาแลกกับการถอนฟ้อง ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่ พล.อ. ประยุทธ์ควรเป็นฝ่ายรับผิดชอบใช่หรือไม่

 

ก่อนจะไปสู่เรื่องนี้ เรามาทบทวนเรื่องราวของเหมืองทองอัครากันก่อน

 

  • ย้อนไปเมื่อปี 2543 บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด จากออสเตรเลีย บริษัทแม่ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ชนะประมูล ได้สิทธิสัมปทานการขุดเหมืองแร่ทองคำชาตรี ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เหมืองทองชาตรีใต้ พื้นที่ 1,259 ไร่ ระยะเวลา 20 ปี สิ้นสุดวันที่ 18 มิถุนายน 2563 และเหมืองทองชาตรีเหนือ พื้นที่ 2,466 ไร่ ระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2551 – 20 กรกฎาคม 2571 

 

  • เหมืองทองอัครา ชื่อของของมันจริงๆ คือ ‘เหมืองทองชาตรี’ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร มีพื้นที่การทำสัมปทานในการขุดหาแร่ทองคำครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เริ่มดำเนินการขุดหาแร่ทองคำตั้งแต่ปี 2544 

 

  • อย่างไรก็ตาม เหมืองทองอัครา ถูกร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 2550 โดยมีความขัดแย้งระหว่างคนในพื้นที่ทั้งกลุ่มที่ร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพจากการทำเหมือง ขณะที่ชาวบ้านอีกกลุ่มรวมถึงบริษัท อัคราฯ ระบุว่า การต่อต้านเหมืองมาจากปัญหาการอยากขายที่ดินให้บริษัท อัคราฯ โดยเอาเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมาเป็นข้ออ้าง  

 

  • ที่สุดแล้วไฮไลต์ของเรื่องก็มาถึง เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559 มีคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 72/2559 สั่งระงับการประกอบกิจการเหมืองทองอัครา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 โดยระบุเหตุผลว่า เหมืองแร่ทองคําได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน รวมถึงมีปัญหาความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่โครงการทําเหมืองแร่ทองคํา

 

  • ประเด็นของเรื่องนี้คือการสั่งระงับการทำเหมืองทอง เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชนเป็นเรื่องที่ดีและควรทำ แต่คำถามคือทำไมถึงเลือกใช้อำนาจตามพิเศษตามมาตรา 44 ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของสากล และการใช้อำนาจพิเศษนี้นำไปสู่การฟ้องร้องโดยบริษัท คิงส์เกตฯ จนคาราคาซังมาถึงทุกวันนี้ เพราะเหมืองแร่ทองคำที่มีปัญหาเช่นกันคือเหมืองทองคำที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ก็ใช้กฎหมายปกติในการปิดกิจการได้ 

 

  • อีกทั้งพรรคฝ่ายค้าน โดย จิราพร สินธุไพร ส.ส. ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย เคยเปิดข้อมูลในการอภิปรายไม่ไว้วางใจมาแล้วว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำหนังสือเสนอความเห็นว่าการใช้มาตรา 44 ปิดเหมืองทองอัครา จะทำให้ไทยเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องและต่อสู้คดีได้ยาก แต่ที่สุดแล้ว พล.อ. ประยุทธ์ ก็เลือกใช้อำนาจพิเศษนี้ 

 

  • แน่นอนว่าไทยถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุการณ์นี้ ซึ่งต่อมา พล.อ. ประยุทธ์ ชี้แจงเสมอว่า คำสั่งนี้ไม่ใช่การปิดเหมือง แต่เป็นการระงับชั่วคราวเพื่อให้บริษัทแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมถึงความขัดแย้งในพื้นที่ 

 

  • แต่นั่นคือคำชี้แจงหลังจากไทยถูกฟ้องร้อง และรัฐบาลถูกซักฟอกในสภา เพราะหากย้อนไปในช่วงก่อนมีคำสั่งตามมาตรา 44 พล.อ. ประยุทธ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ว่า ได้สั่งการไปแล้วว่าภายในสิ้นปี 2559 จะไม่มีการทำเหมืองแร่ทองอีกต่อไป” คำสัมภาษณ์ของนายกฯ นี้มีความสำคัญ เพราะรายงานข่าวระบุว่า บริษัท คิงส์เกตฯ ได้ใช้สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานในการฟ้องร้องไทยว่าเป็นการออกคำสั่งปิดเหมือง ไม่ใช่การระงับใบอนุญาตชั่วคราวเพราะไม่ทำตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมอย่างที่รัฐบาลไทยใช้เป็นเหตุผลในการต่อสู้คดี รวมถึงใช้ชี้แจงต่อประชาชน

 

  • คดีนี้ไปถึงคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเขาฟ้องร้องไทยว่าคำสั่งปิดเหมืองนี้ละเมิดความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย หรือ TAFTA เพื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย ขั้นตอนคือมีกระบวนการไต่สวน และเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน และถ้าตกลงกันได้การฟ้องร้องก็จะจบลงด้วยดี

 

  • แต่ข้อสังเกตที่จิราพร คนที่จับตาเรื่องนี้ใกล้ชิด ตั้งคำถามว่า การเจรจาของรัฐบาลไทยมีการเสนอผลประโยชน์ที่มากเกินไปกว่าที่บริษัท อัคราฯ เคยได้รับไปก่อนหน้านี้หรือไม่ เปรียบเสมือนการยกทรัพย์สินชาติแลกการถอนฟ้องหรือเปล่า จิราพรตั้งข้อสังเกตว่า หลายครั้งก่อนที่จะมีการอ่านคำตัดสิน ไทยมักจะอนุมัติผลประโยชน์ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ให้กับบริษัท อัคราฯ 

 

  • การนัดอ่านคำตัดสินถูกเลื่อนมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้งตามข้อมูลของพรรคฝ่ายค้านที่เกาะติดเรื่องนี้

 

  • ครั้งแรกนัดอ่านคำตัดสินช่วงเดือนต้นปี 2564 และก็ถูกเลื่อนออกไป แต่ก่อนหน้านั้นช่วงเดือนกันยายน 2563 ไทยอนุญาตให้บริษัท คิงส์เกตฯ สามารถนำผงทอง-เงินที่ตกค้างในกระบวนการผลิตออกขายได้ 

 

  • และต่อมาช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ไทยอนุมัติให้บริษัท อัคราฯ สำรวจแร่ทองคำ จำนวน 44 แปลง เนื้อที่เกือบ 4 แสนไร่ (397,226 ไร่) ซึ่งใช้เวลาอนุมัติเพียงแค่ 3 เดือนเศษ นับจากวันที่บริษัท อัคราฯ มีหนังสือถึงอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ยังไม่นับการขออาชญาบัตรสำรวจแร่อีก 66 แปลง รวมพื้นที่เกือบ 6 แสนไร่ ที่คิงส์เกตระบุว่ามีสัญญาณแนวโน้มที่ดี

 

  • การนัดอ่านคำตัดสินมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 31 ตุลาคม 2564 แต่ก็มีการขอเลื่อนอีกครั้งมาเป็นวันที่ 31 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา และเลื่อนอีกครั้งไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน

 

  • เราไม่ทราบรายละเอียดการเจรจาว่าคุยอะไรกัน แต่ผลที่ออกมาคือ บริษัท คิงส์เกตฯ ประกาศเมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ว่ารัฐบาลไทยได้อนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่จำนวน 4 แปลงที่จำเป็นในการเปิดดำเนินการเหมืองแร่ทองคำชาตรี นั่นแปลว่า เหมืองทองชาตรี หรือที่เรารู้จักกันในนามเหมืองทองอัครา ได้ฟื้นคืนชีพอีกครั้ง 

 

  • อย่างไรก็ตาม คดีนี้ยังไม่สิ้นสุด แต่การเจรจาที่บริษัท คิงส์เกตฯ ดูจะได้ประโยชน์ขนาดนี้ ทำให้มีการคาดการณ์ว่า บริษัท คิงส์เกตฯ อาจจะถอนคดีออกจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการ หรืออีกแนวทางคือขอให้คณะอนุญาโตตุลาการ ‘ชี้ขาดตามยอม’ คือมีคำชี้ขาดที่ไม่ได้ตัดสินว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด แต่ชี้ขาดว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันไว้

 

  • ผลจากการเจรจานี้ดูเหมือนว่า บริษัท คิงส์เกตฯ จะได้ประโยชน์เสียจนถูกตั้งคำถามว่า เป็นการต่อรองที่เกินไปกว่าข้อพิพาทหรือไม่ หรือพูดง่ายๆ คือ เต็มที่บริษัท คิงส์เกตฯ ควรจะได้แค่กลับมาทำเหมืองทองชาตรีต่อตามสัญญาสัมปทานเดิม แต่ตอนนี้ได้สิทธิสำรวจแร่กว่า 4 แสนไร่ และกำลังขอสิทธิสำรวจเพิ่มอีก 6 แสนไร่ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าด้วยดีลที่บริษัท คิงส์เกตฯ ได้ประโยชน์แบบนี้ แสดงว่าหากไทยแพ้คดีจะต้องสูญเสียเงินชดเชยมากมายขนาดไหน เพราะตัวเลขค่าชดเชยที่บอกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท ก็มาจากการคาดการณ์ทั้งนั้น เพราะรัฐบาลไม่เคยเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ นี่ยังไม่พูดถึงการเสียเครดิตทางการเมืองของ พล.อ. ประยุทธ์ หากต้องแพ้คดีเพราะใช้อำนาจพิเศษ มาตรา 44

 

  • เรื่องนี้เรายังต้องจับตากันต่อไป เพราะบริษัทจากออสเตรเลียเขาฟ้องร้องราชอาณาจักรไทยก็คือคนไทยทุกคน ขณะที่รัฐบาลก็ควรเปิดเผยข้อมูลการเจรจาที่โปร่งใสกว่านี้ เพราะทุกผลประโยชน์ที่เสียไป มันคือผลประโยชน์ของพวกเราคนไทยทุกคน
Comment:
CONFIRM CODE :
Comment Name :
#สมัครงาน เหมืองแร่ 2564    #เหมือง ภู เบี้ย สมัครงาน    #บริษัท อั ครา รีซอร์ส เซ ส จํา กัด มหาชน    #รับสมัคร ผู้จัดการ เหมืองแร่    #บริษัท อั ครา พิจิตร    #อั ครา ไม่ นิ่ง พิจิตร    #เหมือง อั ครา เจ้าของ    #เหมืองทองอัครา ของใคร    #คดีเหมืองทองอัคราล่าสุด 2564    #เหมืองทองอัครา สรุป    #เหมืองทองอัครา วิกิพีเดีย    #เหมืองทองอัครา pantip    #คดีเหมืองทองอัคราล่าสุด 2565    #เหมืองทองอัครา อยู่ที่ไหน    #เหมืองทองอัครา พิจิตร    #ประธาน บอร์ด เหมืองทอง อั ครา    #ประวัติเหมืองทองอัครา    #คดีเหมืองทองอัครา ตัดสิน    #คดีเหมืองทองอัคราล่าสุด pantip    #เหมืองทองอัครา ใครอนุมัติ    #ข่าวเหมืองทองอัครา ล่าสุด    #เหมืองทองอัครา ประวัติ    #เหมืองทองอัครา ประยุทธ์    #เหมืองทองอัครา ล่าสุด    #เหมืองทองอัคราล่าสุด 2565    #เหมืองทองอัครา คือ    #คดีเหมืองทองอัคราล่าสุด    #เหมืองทอง อั ครา เพื่อไทย    #เหมืองทอง อั ครา ตัดสิน    #เหมืองทอง อั ครา ใคร อนุมัติ    #เหมืองทอง อั ครา ชาวบ้าน    #เหมืองทอง Pantip    #เหมืองแร่ พิจิตร    #สมัครงานเหมืองทองอัครา   


สมัครแทงหวย กดตรงนี้
3 ตัว 900 / 2 ตัว 90